; ปวดข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome - CST ) -โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่ McCormick Hospital ChiangMai

ปวดข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome - CST )



        เป็นโรคซึ่งพบบ่อยมากโรคหนึ่งในวัยกลางคนถึงคนสูงอายุ โรคนี้เกิดขึ้นเพราะเส้นประสาทที่ข้อมือถูกกด ทำให้มีอาการ ปวด ชา และ อ่อนกำลังที่มือ โรคนี้ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องแต่เนิ่น ๆ ก่อน 6 เดือน จะหายขายได้



สาเหตุ 

        1. เกิดจากการใช้มือทำงานซ้ำ ๆ เป็นเวลานานหลาย ๆ ปี เช่น การพิมพ์ดีด การใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์การห่อของในโรงงาน เป็นต้น
        2. จากอุบัติเหตุ ทำให้ข้อมือช้ำ กระดูดหัก ข้ออักเสบ
        3. จากโรคทั่วไปของร่างกาย เช่น โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ เนื้องอกบริเวณข้อมือ เป็นต้น

อาการ 
 
        อาการเริ่มต้นมักจะเป็นน้อย ๆ แล้วค่อย ๆ เป็นมากขึ้น เริ่มด้วยอาการปวดที่ข้อมือและมักจะปวดกลางคืนมากกว่ากลางวัน บางครั้งปวดจนตื่นกลางดึกต้องลุกขึ้นสะบัดมือสักพักแล้วค่อยทุเลา พอเป็นมากขึ้นจะมีอาการชาที่นิ้วมือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง ทางด้านอุ้งมืออาจมีความรู้สึกเหมือนนิ้วหนาและหนักและกล้ามเนื้อฝ่อ ถ้าเป็นนาน 4 - 5 เดือน อาการมักจะเป็นตลอดเวลา 
 
การป้องกัน 

        1. พยายามอย่าใช้ข้อมือเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ นานเกินไป เช่น การใช้คีมหยิบจับอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ ซ้ำ ๆ
        2. เวลาที่ใช้เครื่องมือ ด้วยท่าที่ถือข้อมือจับแทนที่จะใช้นิ้วจับ
        3. พยายามใช้มือ ด้วยท่าทีถือข้อมือตรง ไม่งอมาก อาจใช้ที่ดามข้อมือช่วย
        4. เปลี่ยนการใช้มือซ้าย - ขวา พักการใช้มือครั้งคราว พยายามลดความกดดันมือเวลาใช้มือ

การรักษา 

        1. ใช้ที่ดามข้อมือ ตลอดทั้งกลางคืน - กลางวัน
        2. รับประทานยาแก้อักเสบ
        3. การทำกายภาพบำบัด
        4. การฉีดยา
        5. การผ่าตัดผ้าเส้นพักผืดกดเส้นประสาทโดยการฉีดยาชาที่ข้อมือ อาการจะหายเร็วและได้ผลดีมาก
ในกรณีที่ปวดจากเอ็นข้อมืออักเสบ ซึ่งเป็นโรคปวดข้อมือที่พบบ่อยที่สุด
 
ช่วงที่ปวดอยู่ 

        -  หลีกเหลี่ยงกิจกรรมที่ทำแล้วปวด
        - ประคบบริเวณที่ปวดนาน 30 นาที วันละ 1 - 2 ครั้ง หรือ อาจจะประคบด้วยความเย็น โดยใช้น้ำแข็งห่อผ้าขนหนูประคบที่ปวดนาน 10 - 15 นาที บ่อย ๆ ได้ตามความต้องการ แต่ควรเว้นช่วงในการประคบมากกว่า 30 นาที  แล้วจึงประคบใหม่อีกครั้ง

ช่วงที่หายปวดแล้ว  

        - ใช้หนังยาง (หนังยางเส้นใหญ่) รัดปลายนิ้ว กางนิ้วออก (ใช้แรงดึงของหนังยางเป็นแรงต้าน) ค่อย ๆ เพิ่มจำนวนหนังยางขึ้นเรื่อย ๆ ตามที่ทำได้ โดยไม่เจ็บ จำนวน 20 ครั้ง ทำบ่อยได้ตามต้องการ
        - สามารถบริหารข้อมือเพื่อผ่อนคลายและป้องกันการปวดข้อมือ สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังภาพต่อไปนี้