; นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโรงพยาบาลแมคคอร์มิค -โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่ McCormick Hospital ChiangMai

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโรงพยาบาลแมคคอร์มิค

(Privacy Policy)

 

โรงพยาบาลแมคคอร์มิค สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการทุกท่าน จึงได้จัดทำ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (“นโยบาย”) นี้ เพื่อให้ท่านในฐานะที่ท่านเป็นผู้เข้ารับบริการ ได้ทราบและเข้าใจรูปแบบการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยและประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิคได้รับมาจากท่าน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

  1. ขอบเขตการบังคับใช้นโยบาย

นโยบายนี้ใช้บังคับกับข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์กับโรงพยาบาลแมคคอร์มิค ในปัจจุบันและที่อาจมีในอนาคต ซึ่งถูกประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ พนักงานตามสัญญา  และรวมถึงคู่สัญญาหรือบุคคลภายนอกที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลแทนหรือในนามของโรงพยาบาล (“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล”) ภายใต้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ ระบบ แอปพลิเคชัน เอกสาร หรือบริการในรูปแบบอื่นที่ควบคุมดูแลโดยโรงพยาบาลแมคคอร์มิค (รวมเรียกว่า “บริการ”)

บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับโรงพยาบาลแมคคอร์มิคตามความในวรรคแรก รวมถึง

  • 1) ลูกค้าบุคคลธรรมดา
  • 2) เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงาน ลูกจ้าง
  • 3) คู่ค้าและผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา
  • 4) กรรมการ ผู้รับมอบอำนาจ ผู้แทน ตัวแทน ผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ในรูปแบบเดียวกันของนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับโรงพยาบาล
  • 5) ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กร
  • 6) ผู้เข้าชมหรือใช้งานเว็บไซต์ www.mccormickhospital.com รวมทั้งระบบ แอปพลิเคชัน อุปกรณ์ หรือช่องทางการสื่อสารอื่นซึ่งควบคุมดูแลโดยโรงพยาบาล
  • 7) บุคคลอื่นที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ผู้สมัครงาน ครอบครัวของเจ้าหน้าที่ ผู้ค้ำประกัน ผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันภัย เป็นต้น

ข้อ 1) ถึง 7) นี้ เรียกรวมว่า “ท่าน”

นอกจากนโยบายฉบับนี้แล้วโรงพยาบาลแมคคอร์มิคอาจกำหนดให้มีคำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (“ประกาศ”) สำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการของโรงพยาบาลแมคคอร์มิค เพื่อชี้แจงให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นผู้ใช้บริการได้ทราบถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกประมวลผล วัตถุประสงค์และเหตุผลอันชอบด้วยกฎหมายในการประมวลผล ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลพึงมีในผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นเป็นการเฉพาะเจาะจง

ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความขัดแย้งกันในสาระสำคัญระหว่างความในประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและนโยบายนี้ ให้ถือตามความในประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของบริการนั้น

  1. คำนิยาม
  • - โรงพยาบาล หมายถึง โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  • - ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลธรรมดา ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
  • - ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
  • - การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง การดำเนินการใด ๆ กับข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เก็บรวบรวม บันทึก สำเนา จัดระเบียบ เก็บรักษา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ใช้ กู้คืน เปิดเผย ส่งต่อ เผยแพร่ โอน รวม ลบ ทำลาย เป็นต้น
  • - เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย
  • - ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  • - ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
  1. ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมจากท่าน

โรงพยาบาลอาจเก็บรวบรวมหรือได้มาซึ่งข้อมูลดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริการที่ท่านใช้หรือบริบทความสัมพันธ์ที่ท่านมีกับโรงพยาบาล รวมถึงข้อพิจารณาอื่นที่มีผลกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยประเภทของข้อมูลที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้เป็นเพียงกรอบการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของโรงพยาบาลเป็นการทั่วไป ทั้งนี้เฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ท่านใช้งานหรือมีความสัมพันธ์ด้วยเท่านั้นที่จะมีผลบังคับใช้

 

ประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

รายละเอียด

ข้อมูลเฉพาะตัวบุคคล (Personal data)

ข้อมูลระบุชื่อเรียกของท่าน หรือข้อมูลเอกสารราชการที่ระบุเฉพาะตัวของท่าน เช่น คำนำหน้าชื่อ ชื่อ นามสกุล ชื่อกลาง เลขที่บัตรประชาชน รูปถ่ายใบหน้า หนังสือเดินทาง ข้อมูลทะเบียนบ้าน หมายเลขใบประกอบการ หมายเลขใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ(สำหรับแต่ละอาชีพ) หมายเลขประจำตัวผู้ประกันตน หมายเลขประกันสังคม หรือหมายเลขที่ระบุตัวตนอื่น ๆ

 

ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของบุคคล

ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตัวท่าน เช่น วัน เดือน ปี เกิด เพศ ส่วนสูง น้ำหนัก อายุ สถานภาพการสมรส สถานภาพการเกณฑ์ทหาร รูปถ่าย ภาษาพูด ข้อมูลพฤติกรรม ความชื่นชอบ ข้อมูลการเป็นบุคคลล้มละลาย ข้อมูลการเป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น

 

ข้อมูลสำหรับการติดต่อ (Contact data)

ข้อมูลเพื่อการติดต่อท่าน เช่น หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขโทรสาร อีเมล์ ที่อยู่ทางไปรษณีย์บ้าน แผนที่ตั้งของที่พัก ชื่อผู้ใช้งานในสังคมออนไลน์ เช่น Line ID , Microsoft Teams เป็นต้น

 

ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานและการศึกษา

รายละเอียดการจ้างงาน รวมถึงประวัติการทำงานและประวัติการศึกษา เช่น ประเภทการจ้างงาน อาชีพ ยศ ตำแหน่ง หน้าที่ ความเชี่ยวชาญ สถานภาพใบอนุญาตทำงาน ข้อมูลบุคคลอ้างอิง หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ประวัติการดำรงตำแหน่ง ประวัติการทำงาน ข้อมูลเงินเดือน วันเริ่มงาน วันออกงาน ผลการประเมินสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ พัสดุในครอบครองของผู้ปฏิบัติงาน ผลงาน หมายเลขบัญชีธนาคาร สถาบันการศึกษา วุฒิการศึกษา ผลการศึกษา วันที่สำเร็จการศึกษา เป็นต้น

 

ข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัย

รายละเอียดเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยผู้ปฏิบัติงาน เช่น ผู้รับประกันภัย ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หมายเลขกรมธรรม์ ประเภทกรมธรรม์ วงเงินคุ้มครอง ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลม เป็นต้น

 

 

ประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

รายละเอียด

ข้อมูลความสัมพันธ์ทางสังคม

ข้อมูลความสัมพันธ์ทางสังคมของท่าน เช่น สถานภาพทางการเมือง การดำรงตำแหน่งทางการเมือง การดำรงตำแหน่งกรรมการความสัมพันธ์กับผู้ปฏิบัติงานของโรงพยาบาล ข้อมูลการเป็นผู้มีสัญญาจ้างกับโรงพยาบาล ข้อมูลการเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการที่ทำกับองค์การ เป็นต้น

 

ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการของโรงพยาบาล

รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของโรงพยายาบาล เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ ข้อมูลระบุพิกัด ภาพถ่าย วีดีโอ บันทึกเสียง ข้อมูลพฤติกรรมการใช้งาน (เว็บไซต์ที่อยู่ในความดูแลของโรงพยาบาล หรือแอปพลิเคชั่นต่างๆ ) ประวัติการสืบค้น คุกกี้หรือเทคโนโลยีในลักษณะเดียวกัน หมายเลขอุปกรณ์ (Device ID) ประเภทอุปกรณ์ รายละเอียดการเชื่อมต่อ ข้อมูล Browser ภาษาที่ใช้งาน ระบบปฏิบัติการที่ใช้งาน เป็นต้น

 

ข้อมูลการเงิน (Financial data)

เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต รายละเอียดบัญชีธนาคาร ข้อมูลเงินเดือน ข้อมูลใบเสร็จ

 

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนของท่าน เช่น เชื้อชาติ ข้อมูลศาสนา ข้อมูลความพิการ ข้อมูลความเห็นทางการเมือง ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลชีวภาพ (ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า) ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ เป็นต้น

 

ข้อมูลการสมัครข่าวสารและการร่วมกิจกรรมทางการตลาด (Marketing Data)

เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารและเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด

ข้อมูลสถิติ (Statistical Data)

เช่น ข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน จำนวนผู้ป่วย และจำนวนการเช้าชมเว็บไซต์

 

ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ (Technical data)

เช่น หมายเลข IP Address ของคอมพิวเตอร์ ชนิดของบราวเซอร์ ข้อมูล Cookies ระบบปฏิบัติการเป็นต้น

 

ข้อมูลสุขภาพ (Health data)

เช่น ข้อมูลการรักษาพยาบาล รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพร่างกายและจิตใจ ผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัย ชื่อโรคที่ได้รับจากการวินิจฉัย ข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้ยา การแพ้ยา ประวัติการแพ้อาหาร ผลเลือด ผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ภาพถ่ายทางรังสีวิทยา และรายงานผลการตรวจทางรังสีวิทยา รายการยาที่แพทย์สั่ง ข้อมูลที่จำเป็นต่อการให้บริการทางการแพทย์ ผลการรักษา เป็นต้น

 

 

  1. แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวม

    โรงพยาบาลเก็บรวบรวมหรือได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้

  • 1) ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรงในช่องทางให้บริการต่าง ๆ เช่น การลงทะเบียน การทำแบบสำรวจหรือใช้งานผลิตภัณฑ์ บริการ หรือช่องทางให้บริการอื่นที่ควบคุมดูแลโดยโรงพยาบาล หรือเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลติดต่อสื่อสารกับโรงพยาบาล ณ ที่ทำการหรือผ่านช่องทางติดต่ออื่นที่ควบคุมดูแลโดยโรงพยาบาล เป็นต้น
  • 2) ข้อมูลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าใช้งานเว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่น ๆ ตามสัญญาหรือตามพันธกิจ เช่น การติดตามพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ ด้วยการใช้คุกกี้ (Cookies) หรือจากซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
  • 3) ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวมจากแหล่งอื่นนอกจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่แหล่งข้อมูลดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ มีเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายหรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล้วในการเปิดเผยข้อมูลแก่โรงพยาบาล เช่น การเชื่อมโยงบริการดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการเพื่อประโยชน์สาธารณะแบบเบ็ดเสร็จแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเอง การรับข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นในฐานะที่โรงพยาบาล มีหน้าที่ตามพันธกิจในการดำเนินการจัดให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล รวมถึงจากความจำเป็นเพื่อให้บริการตามสัญญาที่อาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลกับหน่วยงานคู่สัญญาได้

นอกจากนี้ ยังหมายความรวมถึงกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลภายนอกแก่โรงพยาบาล ดังนี้ ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบในการแจ้งรายละเอียดตามนโยบายนี้หรือประกาศของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตามแต่กรณี ให้บุคคลดังกล่าวทราบ ตลอดจนขอความยินยอมจากบุคคลนั้นหากเป็นกรณีที่ต้องได้รับความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลแก่โรงพยาบาล

ทั้งนี้ ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลที่มีความจำเป็นในการให้บริการของโรงพยาบาล อาจเป็นผลให้โรงพยาบาล ไม่สามารถให้บริการนั้นแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้ทั้งหมดหรือบางส่วน

 

  1. วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการเปิดเผย

    โรงพยาบาลดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านภายใต้ฐานหน้าที่ตามกฎหมาย ( Legal Obligation ) และตามบริบทของการให้บริการ ทั้งนี้ ฐานหน้าที่ตามกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลใช้ประกอบด้วย

 

วัตถุประสงค์

รายละเอียด

เพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจรักษาโรค และให้บริการทางการแพทย์

-  การให้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาล

-  เพื่อรับ-ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล (Refer) ในกรณีที่โรงพยาบาลได้รับการร้องขอให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากสถานพยาบาลหนึ่งเพื่อไปรับการตรวจรักษาต่อที่สถานพยาบาลอื่นตามกระบวนการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล (Refer) โรงพยาบาลจะต้องดำเนินการตามกระบวนการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานของโรงพยาบาล และจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการรับ-ส่ง ต่อผู้ป่วยเท่านั้น ไม่นำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น

 

-   เป็นความจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาเข้ารับการรักษาพยาบาลที่ท่านเป็นคู่สัญญากับโรงพยาบาล ( ม.24(3) )

-   เป็นการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างท่านกับผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ ( ม.26(5)(ก) )

-   เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถให้ความยินยอมได้ เช่น การเข้ารับบริการในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Care) หรือเพื่อรับ-ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล (Refer) ม.26(1)

เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

เพื่อให้โรงพยาบาล สามารถปฏิบัติตามที่กฎหมายที่ควบคุมโรงพยาบาล เช่น

- การเก็บรวบรวมข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560

- กฎหมายว่าด้วยภาษีอากร รวมถึง การดำเนินการตามคำสั่งศาล เป็นต้น

 

เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย

เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของโรงพยาบาล และของบุคคลอื่น ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เพื่อการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่ของโรงพยาบาล หรือการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อกิจการภายในของโรงพยาบาล เป็นต้น

 

เพื่อการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ วิจัยหรือสถิติที่สำคัญ

เพื่อให้โรงพยาบาล สามารถจัดทำหรือสนับสนุนการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ วิจัยหรือสถิติตามที่โรงพยาบาล อาจได้รับมอบหมาย เช่น การจัดทำทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หรือคณะกรรมการ การจัดทำสถิติการใช้บริการ เป็นต้น

 

ความยินยอมของท่าน

เพื่อการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีที่โรงพยาบาล จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากท่าน โดยได้มีการแจ้งวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลก่อนการขอความยินยอมแล้ว เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวด้วยวัตถุประสงค์ที่ไม่เป็นไปตามข้อยกเว้นมาตรา 24 หรือ 26 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือการนำเสนอ ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์และบริการของคู่สัญญาหรือพันธมิตรทางธุรกิจแก่ท่าน เป็นต้น

 

 

ในกรณีที่โรงพยาบาลมีความจำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อการปฏิบัติตามสัญญา การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือเพื่อความจำเป็นในการเข้าทำสัญญา หากท่านปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลหรือ คัดค้านการดำเนินการประมวลผลตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม อาจมีผลทำให้โรงพยาบาล ไม่สามารถดำเนินการหรือให้บริการตามที่ท่านร้องขอได้ทั้งหมดหรือบางส่วน

 

  1. การเปิดเผยหรือแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคล

โรงพยาบาลจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้บุคคลภายนอก ยกเว้นเป็นกรณีที่กฎหมายอนุญาตเพื่อความจำเป็นในการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้โรงพยาบาลอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ในกรณีต่อไปนี้

  • 1) เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้หน่วยงานราชการ หน่วยงานผู้มีอำนาจหรือบุคคลใด ๆ เมื่อมีกฎหมายกำหนดหรือให้อำนาจ รวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
  • 2) การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้กับบุคคลหรือนิติบุคคลที่โรงพยาบาลจำเป็นต้องปฏิบัติตามสัญญาเพื่อผลประโยชน์ของท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยโรงพยาบาลกำหนดให้บุคลหรือนิติบุคคลเหล่านี้ต้องรักษาความลับและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามมาตรฐานที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล พ.ศ.2562 กำหนด ซึ่งบุคคลหรือนิติบุคคลในข้อนี้ ได้แก่
    • บริษัทประกันภัย หรือผู้ให้บริการจัดการสินไหมทดแทนของบริษัทประกันภัยนั้น
    • สถานพยาบาลที่รับการส่งต่อผู้ป่วย
    • ผู้ส่งท่านมาตรวจรักษากับโรงพยาบาล
    • ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของโรงพยาบาล เช่น ผู้รับจ้าง หรือผู้ให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การโทรคมนาคม การชำระเงิน หรือการให้บริการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Outsource) เป็นต้น
  • 3) โรงพยาบาลอาจเก็บข้อมูลไว้ในระบบประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) โดยใช้บริการจากบุคคลที่สามไม่ว่าจะตั้งอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศก็ตาม โดยโรงพยาบาลได้ทำสัญญากับบุคคลดังกล่าวโดยความระมัดระวังและพิจารณาถึงความปลอดภัยในการจัดเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลที่ผู้ให้บริการระบบคลาวด์นั้นให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

  1. ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน

โรงพยาบาล ใช้มาตรฐานระยะเวลาการเก็บเวชระเบียนตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และฉบับแก้ไขล่าสุด โดยหลังจากจำหน่วยผู้ป่วยแล้ว จะเก็บต่ออีก 5 ปี เมื่อครบกำหนด 5 ปีแล้วจะทำลายทิ้งทั้งเวชระเบียนฉบับจริง และสำเนา

ในกรณีที่โรงพยาบาลต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัติตามคำสั่งศาล หรือต้องก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย เพื่อเข้ากระบวนการระงับข้อพิพาทใด ๆ โรงพยาบาลอาจจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามระยะเวลาของอายุความตามกฎหมาย หรือจนกว่าข้อพิพาทนั้นจะถึงที่สุดแล้วแต่กรณี

 

  1. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

โรงพยาบาลมีมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล โดยการจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลให้สามารถเข้าถึงได้โดยเจ้าหน้าที่เฉพาะรายหรือบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่หรือได้รับมอบหมายที่มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้แล้วเท่านั้น ซึ่งบุคคลดังกล่าวจะต้องยึดมั่นและปฏิบัติตามมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของโรงพยาบาลอย่างเคร่งครัด ตลอดจนมีหน้าที่รักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนเองรับรู้จากการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ โดยโรงพยาบาลมีมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูล และเป็นไปตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด

นอกจากนี้เมื่อโรงพยาบาล มีการส่ง โอนหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคลที่สาม ไม่ว่าเพื่อการให้บริการตามพันธกิจ ตามสัญญา หรือข้อตกลงในรูปแบบอื่น โรงพยาบาลจะกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลและการรักษาความลับที่เหมาะสมและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อยืนยันว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมจะมีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ

 

  1. การส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ

ในบางกรณีโรงพยาบาลอาจมีการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังต่างประเทศ โดยโรงพยาบาลได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ส่งหรือโอนไปยังต่างประเทศที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้

  • 9.1 เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดให้โรงพยาบาลจำเป็นต้องส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศ
  • 9.2 โรงพยาบาลได้แจ้งให้ท่านทราบและได้รับความยินยอมจากท่านในกรณีที่ประเทศปลายทางมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เพียงพอ ทั้งนี้เป็นไปตามรายชื่อประเทศที่คณะกรรมการคุ้มครองส่วนบุคคลประกาศกำหนด
  • 9.3 เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของท่านหรือของบุคคลอื่น เมื่อท่านไม่สามารถให้ความยินยอมในขณะนั้นได้ เป็นต้น
  1. การให้บริการโดยบุคคลที่สามหรือผู้ให้บริการช่วง

โรงพยาบาลอาจมีการมอบหมายหรือจัดซื้อจัดจ้างบุคคลที่สาม (ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล) ให้ทำการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลแทนหรือในนามของโรงพยาบาล ซึ่งบุคคลที่สามดังกล่าวอาจเสนอบริการในลักษณะต่าง ๆ เช่น การเป็นผู้ดูแล (Hosting) รับงานบริการช่วง (Outsourcing) หรือเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud computing service/provider) หรือเป็นงานในลักษณะการจ้างทำของในรูปแบบอื่น

การมอบหมายให้บุคคลที่สามทำการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้น โรงพยาบาลจะจัดให้มีข้อตกลงระบุสิทธิและหน้าที่ของโรงพยาบาล ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและของบุคคลที่โรงพยาบาลมอบหมายในฐานะผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งรวมถึงกำหนดรายละเอียดประเภทข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลมอบหมายให้ประมวลผล รวมถึงวัตถุประสงค์ ขอบเขตในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและข้อตกลงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามขอบเขตที่ระบุในข้อตกลงและตามคำสั่งของโรงพยาบาลเท่านั้นโดยไม่สามารถประมวลผลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นได้

ในกรณีที่ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลมีการมอบหมายผู้ให้บริการช่วง (ผู้ประมวลผลช่วง) เพื่อทำการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลแทนหรือในนามของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้นโรงพยาบาลจะกำกับให้ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจัดให้มีเอกสารข้อตกลงระหว่างผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลกับผู้ประมวลผลช่วง ในรูปแบบและมาตรฐานที่ไม่ต่ำกว่าข้อตกลงระหว่างโรงพยาบาลกับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

  1. สิทธิของท่านตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้หลายประการ ทั้งนี้ สิทธิดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อกฎหมายในส่วนของสิทธินี้มีผลใช้บังคับ โดยรายละเอียดของสิทธิต่าง ๆ ประกอบด้วย

  • 1) สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิขอเข้าถึง รับสำเนา และขอให้เปิดเผยที่มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมไว้ เว้นแต่กรณีที่โรงพยาบาลมีสิทธิปฏิเสธคำขอของท่านด้วยเหตุตามกฎหมายหรือคำสั่งศาล หรือกรณีที่การใช้สิทธิของท่านจะมีผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
  • 2) สิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง สมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน หากท่านพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนหรือไม่เป็นปัจจุบัน ท่านมีสิทธิขอให้แก้ไขเพื่อให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้
  • 3) สิทธิในการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิขอให้ โรงพยาบาล ลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลได้ต่อไป ทั้งนี้ การใช้สิทธิลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด
  • 4) สิทธิในการขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ทั้งนี้ ในกรณีดังต่อไปนี้
    • ก) เมื่ออยู่ในช่วงเวลาที่ โรงพยาบาล ทำการตรวจสอบตามคำร้องขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง สมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน
    • ข) ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลถูกเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
    • ค) เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ที่ โรงพยาบาล ได้แจ้งในการเก็บรวบรวม แต่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลประสงค์ให้ โรงพยาบาล เก็บรักษาข้อมูลนั้นต่อไปเพื่อประกอบการใช้สิทธิตามกฎหมาย
    • เมื่ออยู่ในช่วงเวลาที่โรงพยาบาลกำลังพิสูจน์ถึงเหตุอันชอบด้วยกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือตรวจสอบความจำเป็นในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์สาธารณะ อันเนื่องมาจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ใช้สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  • 5) สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับท่าน เว้นแต่กรณีที่โรงพยาบาลมีเหตุในการปฏิเสธคำขอโดยชอบด้วยกฎหมาย (เช่น โรงพยาบาล สามารถแสดงให้เห็นว่าการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายยิ่งกว่า หรือเพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะของ โรงพยาบาล)
  • 6) สิทธิในการขอถอนความยินยอม ในกรณีที่ท่านได้ให้ความยินยอมแก่โรงพยาบาลในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (ไม่ว่าความยินยอมนั้นจะได้ให้ไว้ก่อนหรือหลังพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ) ท่านมีสิทธิถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ตลอดระยะเวลาที่ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกเก็บรักษาโดย โรงพยาบาล เว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิโดยกฎหมายให้โรงพยาบาล จำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลต่อไปหรือยังคงมีสัญญาระหว่างท่านกับโรงพยาบาลที่ให้ประโยชน์แก่ท่านอยู่
  • 7) สิทธิในการขอรับ ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิในการขอรับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจาก โรงพยาบาล ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยวิธีการอัตโนมัติ รวมถึงอาจขอให้โรงพยาบาล ส่งหรือโอนข้อมูลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายอื่น ทั้งนี้ การใช้สิทธินี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด

 

  1. เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

     โรงพยาบาล ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ กำกับและให้คำแนะนำในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการประสานงานและให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

  1. การเปลี่ยนแปลงประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการ

ในการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงประกาศนี้ โรงพยาบาลอาจพิจารณาทบทวนเงื่อนไขตามที่เห็นสมควร และจะทำการแจ้งให้ท่านทราบผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.mccormickhospital.com โดยมีวันที่ปรับปรุงล่าสุดกำกับอยู่ตอนท้าย อย่างไรก็ดี ดังนั้นโรงพยาบาลขอแนะนำให้ท่านตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านได้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงตามข้อกำหนดดังกล่าว

โดยในการเข้าใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการภายใต้กิจกรรมการประมวลผลนี้ของท่าน ถือเป็นการรับทราบตามข้อตกลงในประกาศนี้ ทั้งนี้ โปรดหยุดการใช้งานหากท่านไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงในประกาศฉบับนี้ หากท่านยังคงใช้งานต่อไปภายหลังจากที่ประกาศนี้มีการแก้ไขและนำขึ้นประกาศในช่องทางข้างต้นแล้ว จะถือว่าท่านได้รับทราบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแล้ว

  1. ช่องทางการติดต่อสอบถาม

ท่านสามารถสอบถาม หรือใช้สิทธิใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล โดยติดต่อทางเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ที่

  • อีเมล์ dpo@mccormickhospital.com
  • ที่อยู่ 133 ถนนแก้วนวรัฐ ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50000
  • เบอร์โทรศัพท์ 053-921777

 

 

 

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566