; ปัญหาที่พบบ่อยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ -โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่ McCormick Hospital ChiangMai

ปัญหาที่พบบ่อยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เต้านมคัดตึง ( Breast engorgement )

มักเกิดในวันที่ 3 – 5 หลังคลอด เกิดจากการที่มีน้ำนมจำนวนมากอยู่ภายในเต้านม โดยไม่ได้ระบายออกร่วมกบมีเลือดและน้ำเหลืองมาคั่งอยู่เต้านม มีลักษณะตึง บวม ลานนมและหัวนมแข็ง ปวด และอาจมีไข้ร่วมด้วย แต่มักไม่เกิน 24 ชั่วโมง

 

การช่วยเหลือ

  • การประคบเต้านมด้วยน้ำอุ่นจัดประมา 10 นาที
  • นวดเต้านมและบีบน้ำนมออกจากลานนมจนนุ่ม
  • ให้ยาแก้ปวดตามความจำเป็นและให้แม่พักผ่อนอย่างเต็มที่

 

หัวนมเจ็บและแตก ( Sore and cracked nipple )

ควรหาสาเหตุและแก้ไขตามสาเหตุ ที่พบบ่อย ได้แก่ การอมหัวนมและลานนมไม่ถูกต้อง

 

การช่วยเหลือ

  • ควรให้ลูกดูดนมข้างที่เจ็บน้อยกว่าและเปลี่ยนท่าอุ้มที่ทำให้แม่ไม่รู้สึกเจ็บ
  • ถ้าเต้านมคัดตึงมาก ให้บีบน้ำนมอกก่อน
  • ใช้น้ำนมส่วนหลังทานัวนมที่เป็นแผลจะช่วยให้หัวนมหายเร็วขึ้น

 

เกิดจากการระบายน้ำนมออกจากเต้านมบางส่วนได้ไม่ดี เกิดการคั่งของน้ำนม พบก้อนไตแข็งๆที่เต้านมส่วนใดส่วนหนึ่ง

กดเจ็บที่ก้อน อาจบวมแดงเฉพาะที่และไม่มีไข้

 

การช่วยเหลือ

  • ประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นจัดประมาณ 3 – 5 นาทีก่อนให้นมลูก ให้ลูกดูดเต้านมข้างที่มีปัญหาก่อน เพื่อระบายน้ำนมได้มากขึ้น
  • ให้ลูกดูดบ่อยๆทุก 2 – 2½  ชั่วโมง ดูดนานอย่างน้อยข้างละ 15 – 20 นาที เมื่อลูกดูดนมเสร็จให้บีบน้ำนมออก
  • ให้ยาแก้ปวดตามความเหมาะสม
  • ตรวจสอบเสื้อชั้นในว่ารัดเกินไปหรือไม่

 

เต้านมอักเสบ ( Mastitis )

เกิดจากท่อน้ำนมอุดตัน เต้านมคัดตึงที่ไม่ได้รับการแก้ไข หัวนมที่แตกเป็นแผลทำให้เกิดการอักเสบของเต้านม เกิดด้านเดียว ปวด บวมแดง ร้อน ร่วมกับมีไข้ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป พบบ่อยในช่วง 2 – 3 สัปดาห์แรกหลังคลอด

การอักเสบในช่วงแรกเป็นแบบไม่มีการติดเชื้อ ต่อมามีการติดเชื้อซ้ำซ้อนในภายหลังได้

 

 ฝีที่เต้านม ( Breast abscess )

จะเกิดหลังจากเต้านมที่อักเสบไม่ดีขึ้นหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษา จะพบก้อนที่กดเจ็บของเต้านม สีผิวหนังที่ก้อนเปลี่ยนไปจากปกติ คลำได้คล้ายถุงน้ำมี Fluctuation ปวด บวมแดง ร้อน ร่วมกับมีไข้ ตรวจ Ultrasound ของเต้านมอาจพบก้อนหนอง

 

การช่วยเหลือ

  • ระบายหนองออกจากเต้านม โดยใช้เข็มเจาะหรือผ่าตัด กรณีระบายหนอง ควรกรีดแผลตามแนวรัศมีของเต้านม
  • ระบายน้ำนมออกจากเต้า
  • เริ่มให้นมจากข้างที่ไม่มีปัญหาก่อน เพื่อกระตุ้น Oxytocin reflex ให้มีน้ำนมไหลดีก่อน อาจประคบน้ำอุ่นประมาณ 3 – 5 นาทีก่อนให้นม
  • ให้ยาแก้ปวดตามความเหมาะสมและประคบเย็นลดปวดหลังให้นมบุตร
  • ให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม เช่นเดียวกับเต้านมอักเสบ ในกรณีติดเชื้อรุนแรง หรือ Progressive erythema อาจให้ Vancomycin 30 mg/kg. แบ่งให้ 2 ครั้งต่อวัน เข้าทางหลอดเลือดดำให้ยานาน 10 – 14 วัน หลังจากระบายหนองออกแล้ว
  • สามารถให้นมลูกได้ในข้างที่เป็นฝีที่ระบายหนองแล้ว ยกเว้นหากการผ่าแผลขนาดใหญ่ใกล้นานนม หรือการผ่ามีการทำลายท่อน้ำนมมาก เมื่อดีขึ้นสามารถกลับมาให้นมข้างนั้นได้ โดยช่วงแรกอาจบีบน้ำนม หรือ Pump นมออกก่อนเท่าที่แม่จะมนได้ มักใช้เวลา 2 – 3 วัน ก็จะดีขึ้น

 

แหล่งที่มา : ชลรส เจริญรัตน์ (2557) Breast feeding (การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่) สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2559