; ภาวะตกเลือดหลังคลอด -โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่ McCormick Hospital ChiangMai

ภาวะตกเลือดหลังคลอด

 

สาเหตุของภาวะตกเลือดหลังคลอด

แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

  1. การตกเลือดระยะเฉียบพลัน คือภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด สาเหตุได้แก่
  • กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวไม่ดี เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด
  • การฉีกขาดของช่องทางในการคลอด เช่น ปากมดลูกและ/หรือช่องคลอด
  • การมีเศษรกหรือเยื่อหุ้มทารกค้างในโพรงมดลูก
  • การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  1. การตกเลือดระยะหลัง คือ การที่มีเลือดออกตั้งแต่หลังจาก 24 ชั่วโมงไปจนถึง 12 สัปดาห์หลังคลอด สาเหตุได้แก่
  • การติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุพบได้บ่อยที่สุด
  • การมีเศษรก หรือเยื่อหุ้มทารกค้างในโพรงมดลูก พบเป็นได้ทั้งสาเหตุตกเลือดหลังคลอดเฉียบพลันและระยะหลัง 
  •  

 

ดูแลตนเองอย่างไร? เมื่อตกเลือดหลังคลอด

ภาวะตกเลือดหลังคลอดเฉียบพลันเป็นระยะวิกฤตที่แพทย์ต้องให้ความช่วยเหลือ แม่เมื่อผู้ป่วยหลังคลอดแล้ว

  • ผู้คลอดต้องสังเกตตัวเองว่าเลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ เลือดออกเป็นลิ่มๆ
  • มีอาการหน้ามืด วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม ต้องรีบแจ้งแพทย์ พยาบาลให้ทราบโดยด่วน

 

ส่วนการตกเลือดหลังจากออกจากโรงพยาบาล มาพักฟื้นอยู่บ้าน หรือการตกเลือดหลังคลอดในระยะหลัง

  • หากมีการติดเชื้อในโพรงมดลูก หรือมีเศษรกค้างในโพรงมดลูก ปริมาณเลือดที่ออกจะไม่มากมายในทันที อาจเป็นเลือดสดๆออกมาเล็กๆน้อยๆก่อนแล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้นให้กลับไปพบแพทย์
  • อาจมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ มีอาการปวดท้องน้อย ปวดมดลูก ซึ่งผู้คลอดต้องแยกภาวะเลือดออกผิดปกติกับน้ำคาวปลาหลังคลอด โดยปกติน้ำคาวปลาใน 2 – 3 วันแรกจะมีสีแดง แต่ปริมาณจะไม่มากเมื่อผ่านไป 1 สัปดาห์หลังคลอด สีน้ำคาวปลาจะจางลงเรื่อยๆ ไม่ควรจะกลับมามีเลือดสีแดงสดออกมาอีก และจะไม่มีไข้หรือมีการปวดท้องน้อย หากมีเลือดออกหลังคลอดที่ไม่ใช่น้ำคาวปลาปกติ ก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

 

การรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด

ภาวะตกเลือดหลังคลอดเฉียบพลัน เป็นระยะวิกฤตที่ต้องให้ความช่วยเหลือด่วน ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดอยู่ในห้องคลอด ส่วนการรักษาขึ้นกับสาเหตุ เช่น

  1. หากมีการฉีกขาดของช่องคลอด แพทย์จะทำการเย็บซ่อม
  2. หากมีเศษรก หรือเยื่อหุ้มเด็กค้างในโพรงมดลูก ก็ต้องทำการขูดมดลูก
  3. หากเสียเลือดมากจากระบวนการช่วยในการแข็งตัวของเลือดเสียไป ต้องทำการให้เลือด ให้สารช่วยในการแข็งตัวของเลือด
  4. ส่วนสาแหตุที่เกิดจามดลูกหดรัดตัวไม่ดี ที่พบบ่อยที่สุดนั้น การรักษาประกอบด้วย
  • การให้น้ำเกลือ การให้เลือด การให้ยาช่วยการหดรัดตัวของมดลูก การนวดคลึงมดลูก
  • หากให้การรักษาด้วยยาหลายขนานแล้วมดลูกยังหดรัดตัวไม่ดี แพทย์ต้องพิจารณาผ่าตัด เพื่อทำการเย็บผูกหลอดเลือดแดงหรือเย็บมัดมดลูก และท้ายที่สุดหากยังไม่สามารถหลุดเลือดได้อีก ก็จำเป็นต้องตัดมดลูก เพื่อรักษาชีวิตแม่ไว้
  1. ส่วนการตกเลือดหลังจากออกจากโรงพยาบาลมาพักฟื้นอยู่บ้านแล้ว หรือการตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง มักเกิดจากมีการติดเชื้อหรือมีเศษรกค้างในโพรงมดลูกไม่มาก เลือดที่ออกมักไม่มากเหมือนระยะหลังคลอดใหม่ๆ แพทย์จะทำการตรวจภายในและประเมินสภาพมดลูกก่อน จากนั้นจะทำการตรวจมดลูกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูว่ามีเศษรกค้างอยู่หรือไม่ หากมีค้างก็พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะก่อน แล้วพิจารณาขูดมดลูกต่อไป หากไม่มีเศษรกค้างก็จะให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งอาจให้ยากลับบ้านมารับประทานที่บ้าน หรือหากเลือดออกมาก อาจให้นอนโรงพยาบาล เพื่อพิจารณาให้น้ำเกลือ และให้เลือดร่วมด้วย

 

 

 ผลแทรกซ้อนจากภาวะตกเลือดหลังคลอดต่อมารดา

ผลภาวะแทรกซ้อนจากภาวะตกเลือดหลังคลอดต่อมารดา ขึ้นกับปริมาณของเลือดที่เสียไป ได้แก่

  • ซีด อ่อนเพลีย ไม่มีน้ำนมเลี้ยงดูบุตร เนื่องจากตอนเสียเลือดมาก อาจมีความดันโลหิตต่ำมีเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนที่ควบคุมการสร้างน้ำนมไม่เพียงพอ
  • ไตวาย เลือดไม่แข็งตัว
  • เสียชีวิต

 

ภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม

รวมถึงภาวะตกเลือดมีแนวโน้มจะเกิดซ้ำอีกในครรภ์ถัดไป หากครรภ์แรกมีการตกเลือดหลังคลอดการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป จะมีตกเลือดหลังคลอดมากขึ้นประมาณ 10 % ดังนั้นต้องแจ้งแพทย์ที่ผากครรภ์ให้ทราบด้วยว่าในครรภ์ก่อนๆมีปัญหาอย่างไรบ้าง เพื่อที่แพทย์จะได้มีการเตรียมให้ป้องกันและให้คำแนะนำและให้การดูแลเป็นกรณี ในระหว่างการฝากครรภ์ต้องรับประทานบาบำรุงครรภ์ให้สม่ำเสมอ เพราะในยาบำรุงครรภ์จะมีธาตุเหล็กที่ใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดงไว้สำรองในยามที่ต้องเสียเลือดหลังคลอดอาการข้างเคียงจากการตกเลือดจะได้ไม่มาก คือ มีปริมาณความเข้มข้นของเลือดสูงอยู่เดิม