สาเหตุเกิดจาก
เชื่อว่าเป็นผลจากการหดรัดตัวของเส้นเลือดโดยทั่วไปจึงเกดมีความดันโลหิตสูงตามมา หากมีความรุนแรงมากขึน อาจมีผลทำลายเนื้อเยื่อจากการขาดออกซิเจนของอวัยวะต่างๆที่สำคัญร่วมด้วย ได้แก่ ตับ ไต สมอง นอกจากนี้ ยังมีผลทำให้เลือดที่ผ่านรกไปยังทารกลดลงส่งผลให้ทารกได้รับอกซิเจน และสารอาหารไม่เพียงพอ

ปัจจัยเสี่ยงต่อสตรีตั้งครรภ์
ภาวะนี้สามารถเกิดได้ในสตรีตั้งครรภ์ทุกคน โดยมีอุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 5 อย่างไรก็ตามมีปัจจัยบางประการที่เพิ่มความเสี่ยง
- สตรีตั้งครรภ์แรก
- การตั้งครรภ์ทีมีทารกมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป
- สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี อ้วน หรือมีประวัติความดันโลหิตสูงเรื้อรังมาก่อน

ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
- ผลต่อสตรีตั้งครรภ์ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้ภาวะของโรครุนแรงจนถึงขั้นชัก นอกจากนี้ยังส่งผลให้การทำงานของอวัยวะสำคัญอื่นๆผิดปกติและเสียชีวิตได้
- ผลต่อทารกในครรภ์ เนื่องจากภาวะนี้ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ผ่านรกมายังทารกลดลง ดังนั้นจึงอาจส่งผลกระทบให้ทารกเกิดภาวะโตช้าในครรภ์และ/หรือทำให้ทารกมีสุขภาพที่ผิดปกติซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตในครรภ์ได้
อาการและอาการแสดง
- บางรายอาจมีภาวะบวมตามมือและหน้า หรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนำมาก่อน
- อย่างไรก็ตามบางรายอาจไม่มี หรือมีอาการไม่แน่ชัด ดังนั้นจึงควรมาตรวจครรภ์สม่ำเสมอตามแพทย์นัด เพื่อรับการวินิจฉัยและดูแลรักษาแต่เนิ่นๆหากเกิดภาวะดังกล่าวขึ้น

แนวทางการดูแลรักษา
หลักการรักษาภาวะนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรคและอายุครรภ์
- หากการตั้งครรภ์ครบกำหนด หรือภาวะของโรคมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น แนวทางการรักษา คือ ยุติการตั้งครรภ์ซึ่งบางรายอาจจำเป็นต้องผ่าตัดคลอด
- หากการตั้งครรภ์ยังไม่ครบกำหนด และภาวะของโรคยังสามารถควบคุมได้อาจพิจารณาดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปภายใต้การดูแลของแพทย์ในโรงพยาบาล และพิจารณายุติการตั้งครรภ์ทันที หากแพทย์เห็นว่าดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมารดา
อาการที่แสดงว่าโรครุนแรงขึ้นและต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
- ปวดศีรษะมาก ตามัว
- จุกแน่นลิ้นปี่ ปวดเกร็งท้อง เลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งอาจเป็นการแสดงของรกลอกตัวก่อนกำหนด
การปฏิบัติตัวเมื่อแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน
- หลังจากแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้หลังจากประเมินแล้วว่าสามารถตั้งครรภ์ต่อไปนี้ให้ปฏิบัติดังนี้
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- นับจำนวนการดิ้นของทารกทุกวัน
- สังเกตอาการทีบ่งว่าสภาวะของโรครุนแรงขึ้น เช่น ปวดศีรษะมาก ตามัว จุกแน่นลิ้นปี่ ปวดเกร็งท้อง
- เลือดออกทางช่องคลอด
- มาตรวจติดตามตามที่แพทย์นัด แต่หากมีอาการผิดปกติที่บ่งว่าสภาวะรุนแรงหรือทารกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งต่อวัน ให้มาพบแพทย์ทันที
การตรวจติดตามหลังคลอด
ความดันโลหิตที่เพิ่มสูงขึ้นจากสภาวะนี้ อาจมิได้ลดลงตามปกติทันทีหลังคลอด จึงจำเป็นต้องมาตรวจติดตามวัดความดันโลหิตหลังคลอดตามแพทย์นัด โดยทั่วไปแล้วความดันโลหิตสูงจากสภาวะนี้ควรกลับสู่ปกติอย่างช้าไม่เกิน 12 สัปดาห์หลังคลอด หากความดันโลหิตสูงคงสูงอยู่นานกว่านี้ก็อาจถือว่าสตรีรายนี้มีความดันโลหิตสูงเรื้อรังมาก่อน ซึ่งควรได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ต่อไป
จะเกิดซ้ำในครรภ์ถัดไปหรือไม่?
มีโอกาสเกิดซ้ำได้ในครรภ์ถัดไป และโอกาสจะเพิ่มขึ้นหากสภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ในครรภ์นี้ เกิดตั้งแต่อายุครรภน้อยๆดังนั้นจึงควรมาฝากครรภ์แต่เนิ่นๆในครรภ์ถัดไป
สามารถป้องกันภาวะนี้ได้หรือไม่?
จนถึงปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดถึงประสิทธิผลหรือข้อสนับสนุนการใช้ยาวิตามิน หรือสารอาหารใดในการป้องกันภาวะนี้ อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลท่าน เพื่อพิจารณาเป็นรายๆไป