; ภาวะคัดตึงเต้านม -โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่ McCormick Hospital ChiangMai

ภาวะคัดตึงเต้านม

ภาวะคัดตึงเต้านม

เกิดจากการคั่งของน้ำนม แม่จะรู้สึกหนัก ตึง และหน่วง เต้านมขยายใหญ่ ถ้าสัมผัสจะแข็ง เจ็บ และร้อน ผิวหนังจะมีสีแดงเป็นมัน

 

แบ่งได้เป็น 2 ระยะคือ

ระยะแรก คัดตึงจากน้ำนมเหลืองหรือ Colostrum จะเกิดขึ้นตั้งแต่ 0 – 2 สัปดาห์หลังคลอด

ระยะที่สอง คัดตึงจากน้ำนมแท้ จะเกิดขึ้นประมาณ 2 สัปดาห์หลังคลอดเป็นต้นไป

 

การดูแลภาวะคดตึงเต้านม

  1. การประคบร้อน เพื่อให้เส้นเลือดขยายการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองดีขึ้น โดยใช้ผ้าประคบ ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นจัด บิดให้หมาดประคบเต้านมประมาณ 5 – 10 นาที ประคบด้วยถุงถั่วเขียว ถุงข้าวเหนียวร้อน โดยใช้ข้าวเหนียวที่นึ่งร้อน ห่อผ้าขาวบางแล้วนำมาประคบเต้านมเป็นจุดๆ จุดละประมาณ 1 นาที จนรอบเต้านมประมาณ 3 – 5 รอบแล้วค่อยสลับไปทำอีกข้างหนึ่ง
  2. กระตุ้นให้ทารกดูดนมอย่างถูกวิธี ดูดบ่อยๆทุก 2 – 3 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมให้มาเร็วขึ้น

ลักษณะการดูดนมที่ถูกวิธี

สอดหัวนมเข้าปากลูก ลึก 1 – 1 นิ้ว ลิ้นของลูกจะอยู่เหนือเหงือกด้านล่างและใต้ลานหัวนม ส่วนเหงือกบนกดอยู่เหนือลานหัวนม ริมฝีปากแยกออกและแนบกับเต้านม ส่วนคางจะกดลงบนเต้านมแม่

ลักษณะการดูดนมที่ไม่ถูกวิธี

ทารกไม่อมลานนม อมเพียงหัวนมแม่ คางไม่ชิดเต้านม แก้มบุ๋มและแม่เจ็บหัวนมขณะที่ลูกดูดนม

3.ใส่ยกทรงที่มีขนาดใหญ่ พอเหมาะ กระชับ เพื่อพยุงเต้านมและบรรเทาอาการปวดถ่วง

 การดูแลคัดตึงจากน้ำนมแท้

โดยประคบด้วยความร้อน จนเต้านมนิ่ม นวดคลึงเต้านมแล้วนำลูกมาดูด

 

การนดคลึงเต้านม

ล้างมือให้สะอาด ใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว วางบนเต้านมแล้วคลึงเป็นวงกลม จากฐานเต้านมเข้าหาหัวนม ดึงหัวนมและคลึงเบาๆ เพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำนม

            

 

การบีบน้ำนมด้วยมือ หรือใช้เครื่องปั๊มน้ำนม เพื่อระบายน้ำนมออก

                - ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาด วางปลายนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ที่ขอบนอกลานหัวนม ในตำแหน่งที่ตรงกันข้าม

                - กดนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เข้าหาผนังหน้าอก และบีบเข้าหากันเบาๆให้เป็นจังหวะลึกเข้าไปด้านหลังของลานหัวนม

                - บีบน้ำนมทิ้งก่อน 2 – 3 หยด แล้วจึงบีบเก็บใส่ภาชนะถุงเก็บน้ำนม

                - เปลี่ยนตำแหน่งของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วนิ้วชี้ที่กดลานหัวนมไปรอบๆให้ทั่ว ให้ตำแหน่งของเข็มนาฬิกาที่ 6 และ 12, 1 และ 7, 2 และ 8, 3 และ 9 จนกว่าน้ำนมจะมีน้อยลงใช้เวลาข้างละ 5 – 10 นาที จากนั้นสลับไปนวดคลึงและบีบน้ำนม ควรเปลี่ยนท่าให้นมลูกจะทำให้ลูกดูดนมได้เกลี้ยงเต้า

 

 

การประคบเย็นด้วยเจลเย็น กระเป๋าน้ำแข็ง กะหล่ำปลี เพื่อให้เส้นเลือดหดตัว ลดอาการปวดเต้านม

โดยนำกะหล่ำปลีมาตัดขั้วออก ล้างให้สะอาดเลือกใบที่มีขนาดใกล้เคียงกับเต้านม นำใบกะหล่ำปลีไปแช่ตู้เย็นจากนั้นนำมาเจาะรู เว้นตรงหัวนมไว้ประคบที่เต้านมข้างละใบ ใช้ผ้าพันทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ไม่ต้องนวดคลึง อาการปวด บวม คัดตึงก็จะทุเลาลง กะหล่ำปลีมีคุณสมบัติเป็นพืชสมุนไพรชนิดเย็น มีฤทธิ์ดูดซับความร้อน ช่วยลดการคั่งของเลือดบริเวณเต้านมได้ดี