; โรคเกาต์ -โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่ McCormick Hospital ChiangMai

โรคเกาต์



        โรคเกาต์ เป็นโรคข้ออักเสบซึ่งเป็นผลมาจากการเสียสมดุลของร่างกายที่มีกรดยูริคในเลือดสูงมากเกินไปด้วยสาเหตุ เช่น กรรมพันธุ์ ความอ้วน การดื่ม แอลกอฮอล์ หรือจากการที่ใช้ยาบางชนิด รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูงมาก

        กรดยูริค เป็นเพียงของเสียที่ได้จากการย่อยสลายสารอาหารประเภทพิวรีน โดยที่ร่างกายจะกำจัดพิวรีนออกทางไต (ปัสสาวะ) ทางลำไส้ (อุจจาระ) แต่เมื่อร่างกายเกิดกรดยูริคมากเกินไปหรือไม่สามารถสลายกรดยูริคออกได้ ก็จะทำให้เกิดตะกอนในที่สุด




โรคเกาต์มีอาการอะไรบ้าง  เกาต์ จะมีอาการร่วมกันหลายอย่าง ดังนี้

        1. ข้ออักเสบ มีอาการปวด บวม แดง ร้อนที่บริเวณข้อ จะเป็นได้กับทุกข้อต่อในร่างกายแต่พบว่าข้อที่อักเสบได้บ่อยได้แก่ ข้อหัวแม่มือ ข้อเข่า ข้อเท้า
        2. ผลการตรวจเลือดจะพบกรดยูริคสูงกว่าปกติ
        3. พบก้อนขาวคล้ายหินปูนเรียกว่า โทไฟ (TOPHI) ในเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น เส้นเอ็น กระดูกอ่อน หรือตามข้อต่างๆ

        ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์เกือบทุกรายจะมีกรดยูริคในเลือดสูง ร่วมกับอาการดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่เจาะเลือดแล้วพบว่ามีกรดยูริคในเลือดสูงแต่ไม่มีอาการปวดข้อไม่ควรเรียกว่าโรคเกาต์ อาจเป็นแค่กรดยูริคในเลือดสูงเท่านั้น

การรักษาโรคเกาต์ ทำอย่างไร

        1. ขั้นแรก ถ้ามีอาการอักเสบของข้อ ต้องรักษาโดยให้ยาลดการอักเสบ
        2. ให้ยาลดกรดยูริค เพื่อป้องกันอาการกำเริบของข้ออักเสบ
        3. ควบคุมอาหาร โดยงดรับประทานอาหารที่ทำให้กรดยูริคสูง เช่น เครื่องในสัตว์ทุกชนิด สัตว์ปีกทุกชนิด ยอดผักบางชนิด
        4. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเบียร์ เพราะจะทำให้การสร้างกรดยูริคสูงขึ้น และการขับถ่ายกรดยูริคทางไตน้อยลง



ถ้าไม่รักษาจะเกิดผลเสียอย่างไร

        1. ปวดข้อเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ต้องทุกข์ทรมานจากอาการปวดข้อ
        2. ข้อพิการจากการมีผลึกยูเรต ตามเนื้อเยื่อต่างๆ และตามข้อ ทำให้มีปุ่มก้อนตามตัว
        3. เกิดนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะและไตวายถึงแก่ชีวิตได้
        4. โรคหรือภาวะร่วมจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ อ้วน โรคความดันโลหิตสูง

กินอย่างไรเมื่อเป็นโรคเกาต์


        










 ปริมาณพิวรีนในอาหาร 100 กรัม
อาหารที่มีพิวรีนมาก
(มากกว่า 150 มิลลิกรัม)
อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง
(50 - 150 มิลลิกรัม)
อาหารที่มีพิวรีนน้อย
(0 - 15 มิลลิกรัม) 
เนื้อ, ตับอ่อน
หัวใจ (ไก่)
ตับไก่, กึ๋นไก่
เซ่งจี้ (หมู)
เป็ด ห่าน ไก่
ไข่ปลา
ปลาไส้ตัน
ปลาอินทรีย์
ปลาซาดีนกระป๋อง
มันสมองวัว
กุ้งชีแฮ้, ปลาดุก
ถั่วดำ, ถั่วเหลือง
ถั่วเขียว, ถั่วแดง
ชะอม, กระถิน
กะปิ, ซุปก้อน
น้ำสกัดเนื้อ
ยีสต์, เห็ด
เนื้อหมู, เนื้อวัว
ปลาหมึก
ปู
ถั่วลิสง
ใบขี้เหล็ก
สะตอ
ข้าวโอ๊ต
ผักโขม
เมล็ดถั่วลันเตา
หน่อไม้
นม
ผลิตภัณฑ์จากนม
ไข่
ธัญพืชต่างๆ
ผักทั่วไป
ผลไม้ทั่วไป
น้ำตาล
ขนมหวาน
ไขมันจากสัตว์
ไขมันจากพืช
เจละติน
ข้าวและขนมปัง
เนยเหลว
เนยแข็ง