; เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI (Magnetic Resonance) -โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่ McCormick Hospital ChiangMai
เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI (Magnetic Resonance)

เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI (Magnetic Resonance)

       

เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI ( Magnetic Resonance Imaging)

        เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยภาพทางการแพทย์ที่สามารถแสดงภาพตามระนาบได้ทั้งแนวขวาง แนวยาว และแนวเฉียง เป็น 3 มิติ  แสดงภาพเหมือนจริงของอวัยวะภายในต่าง ๆ ของร่างกายและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากความผิดปกติต่าง ๆ ได้ชัดเจน  โดยเฉพาะสมอง หัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ และส่วนที่เป็นมะเร็ง  โดยอาศัยคุณสมบัติของคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก ไม่มีรังสีเอ็กซ์  ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ แก่ร่างกาย และไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง

        ข้อดีของการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI

  • MRI สามารถให้ภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการ วินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถทำการตรวจได้ ในทุก ๆ ระนาบ
  • ใช้ได้ดีกับส่วนที่ไม่ใช่กระดูก คือเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และเส้นประสาทในร่างกาย
  • ใช้ได้ดีกับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • สามารถตรวจเส้นเลือดได้โดย ไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดสารทึบรังสีและการสวนสายยางเพื่อฉีดสี คนไข้สามารถกลับบ้านได้ทันทีที่ตรวจเสร็จ

        โรคที่สามารถวินิจฉัยด้วยเครื่อง MRI ได้

  • สมอง
  • หัวใจ
  • อวัยวะในช่องท้องและทรวงอก
  • กระดูกสันหลังระบบกล้ามเนื้อและข้อ
  • หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำทั่วร่างกาย
  • ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ
  • ท่อทางเดินน้ำดี และถุงน้ำดี
  • เต้านม

        การเตรียมตัวเพื่อการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI

        การเตรียมตัวเพื่อการตรวจ MRI จำเป็นต้องฉีดสารเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กเข้าไปในอวัยวะที่ต้องการตรวจก่อน ระหว่างการตรวจเครื่อง MRI จะส่งเสียงดังเป็นจังหวะ ผู้ถูกตรวจจะได้รับอุปกรณ์อุดหู ระหว่างการตรวจผู้ถูกตรวจจำเป็นต้องอยู่นิ่ง ๆ เพื่อให้บันทึกภาพ เช่นเดียวกับการตรวจด้วยเครื่องตรวจเอกซเรย์อื่นๆ

        ข้อพึงระวังของการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI

  • ผู้ป่วยที่กลัวการอยู่ในที่แคบ ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้
  • ควรหลีกเลี่ยงในรายที่มีโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่น
    1. ผู้ที่ผ่าตัดติดคลิปอุดหลอดเลือดในโรคเส้นเลือดโป่งพอง
    2. metal plates ในผู้ที่ดามกระดูก
    3. ผู้ป่วยที่เปลี่ยนข้อเทียม
    4. ผู้ป่วยที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม
    5. ผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
    6. ผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่อวัยวะเทียมภายในหู 
    7. ผู้ป่วยที่ใส่ Stent ที่หลอดเลือดหัวใจ ต้องสอบถามจากแพทย์ที่ใส่ Stent ว่าเป็น Stent ชนิดใดจะทำ MRI ได้หรือไม่หรือต้องรอกี่สัปดาห์ค่อยทำ ปัจจุบัน Stent ที่หลอดเลือดหัวใจ ถ้าเป็นรุ่น MRI compatible สามารถทำได้ทันทีไม่มีผลเสียใด ๆ
  • ควรหลีกเลี่ยงในคนที่เตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด สมอง ตา หรือ หู ซึ่งจะต้องฝังเครื่องมือทางการแพทย์ไว้
  • ผู้ป่วยที่ใส่เหล็กดัดฟัน ถ้าต้องทำ MRI ตรวจในช่วงบริเวณ สมองถึงกระดูกคอควรต้องถอดเอาเหล็กดัดฟัน ออกก่อน เพราะจะมีผลต่อความชัดของภาพ
  • ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุที่ลูกตา และสงสัยว่าจะมีโลหะชิ้นเล็ก ๆ กระเด็นเข้าไปในลูกตาหรือมีอาชีพเกี่ยวข้องกับโลหะ และมีความเสี่ยงต่อการมีโลหะชิ้นเล็ก ๆ กระเด็นเข้าลูกตา ซึ่งถ้าเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กอาจมีการ เคลื่อนที่ของโลหะชิ้นนั้นก่อให้เกิดอันตรายได้ (ภาพเอกซเรย์ธรรมดาของตาจะช่วยบอกได้ว่ามีหรือไม่มีโลหะอยู่ในลูกตา)
  • ผู้ที่รับการตรวจร่างกายด้วย MRI จะต้องนำโลหะต่าง ๆ ออกจากตัว เช่น กิ๊ฟหนีบผม ฟันปลอม ต่างหู เครื่องประดับ ATM บัตรเครดิต นาฬิกา thumbdrive Pocket PC ปากกา ไม่เช่นนั้น อาจทำให้สิ่งของได้รับความเสียหาย และอาจถูกฉุดกระชาก นอกจากนี้ยังทำให้ภาพที่อยู่บริเวณโลหะไม่ชัด
  • จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่พบว่าการตรวจ MRI มีอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ถ้าจำเป็นจริง ๆ ไม่ควร ตรวจในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
  • ไม่ควรใช้อายชาโดว์ และมาสคาร่า เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้
  • ห้องตรวจ MRI มีสนามแม่เหล็กแรงสูงตลอดเวลา มีผลต่อการทำงานของเครื่องมือที่ไวต่อแม่เหล็ก เช่นเครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ โลหะทุกชนิดที่เหนี่ยวนำแม่เหล็ก เช่น เหล็กโลหะ การ์ดที่ใช้แถบแม่เหล็ก เช่น ATM, บัตรเครดิต, นาฬิกา, thumbdrive หรือพวกเครื่อง Pocket PC

    ทั้งนี้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของนักรังสีเทคนิคอย่างเคร่งครัด

    สอบถามรายละเอียด : โทร. 053-921777 ต่อ 1762  (นอกเวลาทำการติดต่อแผนกเอกซเรย์ ต่อ 1151)